How To รับมือกับคันจิตัวร้าย

     พูดถึงความหนักหนาสาหัสของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น คงหนีไม่พ้น 漢字 (คันจิ) ที่หลายคนต่างเบ้ปากมองบนให้กับความเยอะของนางกันมานับครั้งไม่ถ้วน ปกติแค่จำคันจิแต่ละตัวให้เข้าหัวก็ว่ายากแล้ว ยังจะมาเจอคันจิหน้าตาคล้ายกันอย่างกับฝาแฝดไปอีก ยิ่งชวนกุมขมับเข้าไปใหญ่ แน่นอนว่าเรียนภาษาญี่ปุ่นทั้งทีจะปล่อยเบลอคันจิก็ไม่ได้ J-Learning Tips & Tricks ในครั้งนี้เลยมาแนะนำเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนรับมือกับคันจิตัวร้ายได้อย่างสบาย ๆ กันค่ะ
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

1. สังเกต "บุชุ" ของคันจิ
 


     คันจิทุกตัวล้วนมี 部首 (บุชุ) หรือรากของคันจิซึ่งมีความหมายในตัวเองเป็นส่วนประกอบ การสังเกตบุชุจึงมีข้อดีตรงที่เราสามารถเรียนรู้คันจิตัวอื่น ๆ ได้จากบุชุนั้น ๆ เช่น หากสังเกตและท่องจำว่าบุชุ  มักมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับ คำ คำพูด การพูด และมีคันจิเช่น 設 訪 評 証 誌 談 ฯลฯ คลังคันจิของเราก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้คาดเดาความหมายคร่าว ๆ ของคันจิที่มีบุชุ 言 เป็นส่วนประกอบได้ด้วยเช่นกัน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. สังเกต "ความยาวของเส้น" ในคันจิ
 


     เชื่อว่าคงมีหลายคนกำลังนั่งหาความต่างของคันจิในรูปด้านบนกันอยู่ใช่ไหมคะ ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่าจุดที่ต่างกันคือ ความยาวของเส้น ในคันจิ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนสับสนกันได้ง่ายมาก ๆ หากความยาวเส้นสั้นไปหรือยาวไปแค่นิดเดียวก็อาจทำให้สิ่งที่เราต้องการจะสื่อผิดเพี้ยนได้ แม้จะเป็นคันจิพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย แต่ถ้าไม่ทันระวังก็มีโอกาสเบลอกับความยาวของเส้นคันจิได้เหมือนกัน เพราะงั้น อย่าลืมสังเกตความยาวของเส้นคันจิกันให้ดีละ !

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3. สังเกต "เสียงอ่าน" ของคันจิ
 


     เวลาจดจำเสียงอ่านของคันจิแต่ละตัว นอกจากเสียงคุน (เสียงอ่านแบบญี่ปุ่น) และเสียงอง (เสียงอ่านแบบจีน) ที่ต้องจำด้วยกันเป็นแพ็กคู่แล้ว อีกสิ่งที่ควรสังเกตและควรระวังให้ดี ก็คือ เสียงสั้น เสียงยาว เสียงขุ่น และเสียงกึ่งขุ่น ในคันจินั่นเองค่ะ เช่น โจทย์ข้อ 2 ในรูปด้านบน ใครที่ไม่แม่นเรื่องเสียงอ่านของคันจิ คงมึนกันไปข้างว่าเสียงอ่านของ 保存 คือ ほぞん ほうぞん หรือ ほそん กันแน่นะ... เทคนิคง่าย ๆ ที่ช่วยให้จำเสียงอ่านของคันจิได้โดยไม่จำสลับกับเสียงอ่านอื่น ๆ ก็คือ อ่านออกเสียงคันจิตัวนั้นด้วย "เสียงดังฟังชัด" และ "เน้นเสียงที่มีโอกาสอ่านผิด" เช่น

保存 (ほぞん) ให้ลองอ่านออกเสียงว่า
(โฮะ *เน้นเสียงสั้น*) ぞん (ซน *เน้นเสียงสั่น*)

     จากนั้นท่องคำว่า โฮะ-ซน วนไป เมื่อท่องไปได้สักพัก สมองของเราจะค่อย ๆ ซึมซับเสียงเหล่านั้นเข้าไปในหัว และสามารถจดจำเสียงอ่านของคันจิตัวนั้น ๆ ได้โดยปริยายค่ะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

     ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าคันจิเป็นส่วนหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น จะเลี่ยงไม่จำคันจิก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่หากมีหนังสือคันจิดี ๆ ที่พร้อมรับมือกับคันจิตัวร้ายติดชั้นหนังสือไว้สักเล่มก็คงอุ่นใจไม่ใช่น้อย และถ้าใครกำลังมองหาหนังสือคันจิดี ๆ สักเล่มละก็ ทางสำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรมขอแนะนำหนังสือซีรีส์ "คันจิ JLPT" ที่พร้อมรับมือกับเจ้าคันจิตัวร้ายได้อย่างสบายหายห่วง ~
 


     ผู้ที่สนใจสามารถซื้อได้ที่ร้านหนังสือทั่วไป ศูนย์หนังสือ ส.ส.ท. (พัฒนาการ 18) หรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ tpabook.com แอป Shopee (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabookcentre) และแอป Lazada (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabook) กันได้เลย :D

ทิพยญาดา ทรัพย์เอนก TPA Press