โกะ : หมากเป็นล้อมหมากตาย


        หมากล้อม หรือ โกะ (ญี่ปุ่น : 囲碁 igo, จีน : 棋 เหวยฉี) เป็นหมากกระดานประเภทหนึ่ง ใช้ผู้เล่น 2 คน แต่ละคนใช้หมากในการเล่นคนละสีคือ สีขาวและสีดำ หมากล้อมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อเกือบ 4,000 ปีที่แล้ว มักนิยมเล่นในหมู่ชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ และยังถือเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน ซึ่งประกอบไปด้วย ดนตรี โคลงกลอน ภาพวาด และหมากล้อม นั่นเอง หลังจากนั้นหมากล้อมก็ได้เผยแพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
 

 photo 1_zpszsg8o7zq.jpg


ขอบคุณภาพประกอบจาก
http://web.mlf360.com/404.html?from=http://www.hxzcw.cn/photo/e58fa4e4babae59bb4e6a38b.html


        ประเทศญี่ปุ่นในสมัยของโชกุนโทกุงาวะถือเป็นยุคทองของหมากล้อม เพราะท่านโชกุนสนับสนุนให้ทหารได้เล่นหมากล้อม เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกสงครามโดยการรบด้วยปัญญามากกว่ากำลังเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังจัดตั้งสำนักสำหรับฝึกฝนหมากล้อมขึ้น 4 สำนัก และจัดให้มีการแข่งขันระหว่างทั้ง 4 สำนักเพื่อแย่งชิงตำแหน่ง เมจิน (名人 Meijin) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของการแข่งขันนั่นเอง ต่อมา หมากล้อมในประเทศญี่ปุ่นก็ได้พัฒนามาตรฐานการเล่นและฝีมือจนเทียบเท่ากับประเทศจีนเลยทีเดียว ในปี 1982 ญี่ปุ่นได้จัดตั้งสมาพันธ์หมากล้อมนานานาชาติในชื่อ INTERNATIONAL GO FEDERATION หรือ IGF มีสมาชิกแรกเริ่ม 15 ประเทศ และเมื่อปลายปี 2015 มีจำนวนประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 75 ประเทศ ซึ่งมีประเทศในทวีปยุโรปถึง 37 ประเทศเลยทีเดียว
 

 photo 2_zpsag1voed2.png


ขอบคุณภาพประกอบจาก - http://www.gosymposium.org/


        ในประเทศไทยเริ่มมีการรวมตัวของผู้เล่นหมากล้อมตั้งแต่ปี 1980 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IGF ในปี 1983 จนกระทั่งปี 1993 คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ได้ก่อตั้งชมรมหมากล้อมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่หมากล้อมให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขว้างเรื่อยมา ปัจจุบันได้ยกสถานะเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย (GO ASSOCIATION OF THAILAND) และได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
 

 photo 3_zpsteh2bvpo.jpg


คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์
ขอบคุณภาพประกอบจาก
http://www.cpthailand.com/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%A1%
E0%B8%99/tabid/129/articleType/ArticleView/articleId/1324/--.aspx


        หมากล้อมในไทยเริ่มมีบุคคลทั่วไปสนใจมากขึ้นในช่วงปี 1999 โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา เมื่อนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ BOOM ได้ตีพิมพ์การ์ตูนเรื่อง ฮิคารุ : เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ (ヒカルの碁 Hikaru no Go) ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหมากล้อม และในขณะนั้นถือว่าเป็นการ์ตูนที่โด่งดังในประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนั้น การ์ตูนเรื่องนี้ยังโด่งดังในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ อีกด้วย จนทำให้มีการผลิตเวอร์ชั่นอานิเมะตามมาในภายหลัง
 

 photo 4_zpszyxtchgs.jpg


การ์ตูนเรื่อง ฮิคารุ : เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ
ขอบคุณภาพประกอบจาก - http://vip.blomaga.jp/articles/32840.html


        อุปกรณ์ในการเล่นหมากล้อมก็เหมือนกับกีฬาเกมกระดานประเภทอื่น ๆ คือมีเพียงแค่กระดานและตัวหมาก โดยกระดานจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเส้นตัดกันในแนวนอนและแนวตั้งทั่วทั้งกระดาน ขนาดมาตรฐานจะอยู่ที่ 19 x 19 เส้น และมีจุดตัดทั้งสิ้น 361 จุด ส่วนตัวหมากจะมี 2 สีคือ สีขาวและสีดำ การตัดสินแพ้ชนะจะนับจากพื้นที่ของแต่ละฝ่ายที่ล้อมไว้เป็นดินแดนของตนเอง หากใครมีพื้นที่มากกว่าก็เป็นฝ่ายชนะ ผู้เล่นที่ได้หมากสีดำจะเป็นฝ่ายได้วางหมากก่อน แต่จะต้องต่อแต้มให้ฝ่ายสีขาว 6.5 แต้ม ตามกฎโคมิ (コミ Komi) ที่ถือว่าผู้ที่ลงหมากก่อนเป็นฝ่ายได้เปรียบ ปัจจุบันการแข่งขันบางรายการได้มีการปรับกฎโคมิให้มีแต้มต่ออยู่ที่ 7.5 แต้ม ทั้งนี้ กติกาและวิธีเล่นจะมีความละเอียดซับซ้อนมาก และมีวิธีการนับคะแนนที่แตกต่างกันไประหว่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
 

 photo 5_zpskbfyenyi.jpg


ขอบคุณภาพประกอบจาก - http://item.rakuten.co.jp/megumido/igoset-nejiasis2tokujo/


        กีฬาหมากล้อมก็มีระดับของนักเล่นหมากล้อมเช่นเดียวกับกีฬาชนิดอื่น ๆ โดยแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ

        1. คิว ไม่ได้ระบุระดับต่ำสุดแน่ชัด แต่ระดับสูงสุดคือ 1 คิว (เลขคิวยิ่งน้อยแปลว่ายิ่งเก่ง)
        2. ดั้งสมัครเล่น มีตั้งแต่ 1 ถึง 7 ดั้ง (จำนวนเลขดั้งยิ่งมากแปลว่ายิ่งเก่ง) บางครั้งอาจเจอได้ถึง 8 ดั้ง เนื่องจากเป็นคนที่ชนะเลิศการแข่งขันมือสมัครเล่นระดับโลก ฯลฯ
        3. ดั้งมืออาชีพ มีตั้งแต่
1 ถึง 9 ดั้ง (จำนวนเลขดั้งยิ่งมากแปลว่ายิ่งเก่ง) ถือว่าเป็นระดับสูงสุดของนักเล่นหมากล้อม ความเก่งถือว่าแตกต่างจากดั้งสมัครเล่นอย่างมาก โดยระดับ 1 ดั้งมืออาชีพเทียบได้กับ 6-7 ดั้งมือสมัครเล่นเลยทีเดียว
 

 photo 6_zpsafadpfpn.jpg


ขอบคุณภาพประกอบจาก -  http://pantip.com/topic/32281599


        ในประเทศไทยมีการสอบวัดระดับหมากล้อม จัดโดยสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย เปิดให้สอบวัดระดับตั้งแต่ 1-8 คิว และสอบขึ้นระดับ 1 ดั้งสมัครเล่น  ส่วนระดับ 2 ดั้งสมัครเล่นขึ้นไปถึงระดับ 7 ดั้งสมัครเล่นต้องแข่งขันเก็บคะแนนสะสม (GAT POINT) เพื่อเลื่อนระดับ ทั้งนี้ คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ (ผู้ก่อตั้งสมาคมฯ) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย มีระดับอยู่ที่ระดับ 7 ดั้งสมัครเล่น  นอกจากนี้ ที่ญี่ปุ่นก็มีชื่อตำแหน่งสำหรับผู้ชนะการแข่งขันจากการแข่งขันรายการใหญ่ ๆ โดยเฉพาะ เช่น เมจิน คิเซ ฮงอินโบ จูดัง ฯลฯ

        แต่แล้ววงการหมากล้อมก็ต้องสั่นสะเทือนอีกครั้งจาก AlphaGo โปรแกรมเล่นหมากล้อมอัจฉริยะจาก Google ซึ่งจะเก่งกาจแค่ไหนและมีที่มาอย่างไร โปรดติดตามอ่านได้จากบทความในครั้งต่อไป

 

  photo 8_zpshyaijf0c.jpg


つづく


เอกณัฏฐ์ สวัสดิ์หิรัญ TPA Press