คันจิคู่ตรงข้ามที่อยู่รอบตัว

        หากลองสังเกตคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่เขียนเป็นอักษรคันจิจะพบว่ามีคำศัพท์จำนวนมากที่มาจากการประสมคันจิเข้าด้วยกัน เช่น (อาสะ) = เช้า ประสมกับ  (ฮิ) = พระอาทิตย์ จะได้เป็นคำว่า 朝日 (อาซาฮิ) = พระอาทิตย์ยามเช้า ซึ่งการจดจำคำศัพท์ที่เป็นคำประสมคันจิเช่นนี้ มีเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจและช่วยให้จำคำศัพท์ได้มากขึ้น นั่นคือการจดจำคำตรงข้ามของคำประสมคันจิควบคู่กันไปด้วย เช่น 朝日 (อาซาฮิ) = พระอาทิตย์ยามเช้า ตรงข้ามกับ 夕日 (ยูฮิ) = พระอาทิตย์ยามเย็น

        เทคนิคช่วยจำนี้ไม่เพียงช่วยให้เรียนรู้คันจิได้ง่ายขึ้น แต่ยังมีประโยชน์กับการจดจำคำศัพท์รอบตัวในชีวิตประจำวันด้วย อย่างเช่นคำตรงข้ามของคำประสมคันจิต่อไปนี้ที่มีโอกาสพบเจอระหว่างการเดินทางในญี่ปุ่น

        ลองมาดูกันว่าจะมีคู่ตรงข้ามของคำศัพท์ไหนกันบ้างนะ ?

1. 到着 (โทชากุ) = ถึงจุดหมายปลายทาง ตรงข้ามกับ 出発 (ชุปปัทสี) = ออกเดินทาง

        เริ่มต้นด้วยคำศัพท์ที่ต้องเจอแน่นอนเมื่อมาถึงสนามบิน นั่นคือคำว่า 到着 (โทชากุ) = ถึงจุดหมายปลายทาง คำนี้ใช้สื่อความหมายว่า "เที่ยวบินขาเข้า" มาจากการประสมคันจิสองตัวคือ  (โท) กับ  (ชากุ) ที่มีความหมายเหมือนกันว่า "ถึงที่หมาย"

        ส่วนคำศัพท์ที่เป็นคู่ตรงข้ามคือ (ชุปปัทสึ) = ออกเดินทาง ที่ในสนามบินใช้สื่อความหมายว่า "เที่ยวบินขาออก" มาจากการประสมคันจิสองตัวคือ (ชุทสึ) = ออก กับ (ฮัทสึ) = ออกเดินทาง
 

ขอบคุณรูปภาพจาก – https://www.shutterstock.com/


        นอกจากนี้ คำว่า 到着 (โทชากุ) และ (ชุปปัทสึ) ยังหมายถึง การมาถึงจุดหมายปลายทางและการออกเดินทางของยานพาหนะอื่น ด้วยเช่นกัน หากไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วอยากดูตารางเวลาของเครื่องบิน รถไฟ หรือรถบัส ก็ลองมองหาคำศัพท์สองตัวนี้ดูกันได้เลย
 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://nlab.itmedia.co.jp/nl/spv/2103/19/news115_0.html


2. 入口 (อิริงุชิ) = ทางเข้า ตรงข้ามกับ 出口 (เดงุชิ) = ทางออก

      ต่อกันด้วยคันจิคู่ตรงข้ามที่มักเห็นตามประตูทางเข้า-ออก ไม่ว่าจะเป็นสถานีรถไฟหรือสถานที่ต่าง ๆ นั่นคือคำว่า 入口 (อิริงุชิ) = ทางเข้า และ 出口 (เดงุชิ) = ทางออก จะสังเกตได้ว่าคู่ตรงข้ามของคำประสมคันจินี้มีความหมายตรงข้ามกันหนึ่งตัวคือ (อิริ) = เข้า มีความหมายตรงข้ามกับ (เดะ) = ออก และนำมาประสมเข้ากับคันจิตัวเดียวกันคือ (คุชิ) = ปากทาง โดยหากเป็นสถานีรถไฟที่มีทางเข้า-ออกหลายด้านก็จะมีคำบอกทิศมาประสมด้วย เช่น 北口 (คิตางุชิ) = ประตูทิศเหนือ 南出口 (มินามิเดงุชิ) = ทางออกทิศใต้ เป็นต้น
 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://ja.m.wikipedia.org/wiki/さっぽろ駅#


3. 大人 (โอโตนะ) = ผู้ใหญ่ ตรงข้ามกับ 子供 (โคโดโมะ) = เด็ก

        คันจิคู่สุดท้ายที่ขอแนะนำในครั้งนี้เป็นคำที่เห็นบ่อยตามจุดขายตั๋วต่าง ๆ ซึ่งเป็นคำตรงข้ามที่มักใช้บอกประเภทของบัตรโดยสารหรือบัตรเข้าชมที่มีราคาแตกต่างกัน นั่นคือคำว่า 大人 (โอโตนะ) = ผู้ใหญ่ มาจากการประสมคันจิสองตัวคือ  (โอ) = ใหญ่ กับ  (ฮิโตะ) = คน ส่วนคำที่เป็นคู่ตรงข้ามคือคำว่า 子供 (โคโดโมะ) = เด็ก มาจากการประสมคันจิสองตัวคือ (โคะ) = เด็ก กับ (โทโมะ) = ผู้ติดตาม
 

ขอบคุณรูปภาพจาก – https://blog.opus21.net/post-0-502/


        แม้ว่าอักษรคันจิจะมีความซับซ้อนทั้งเรื่องการอ่านออกเสียงที่ออกเสียงได้หลายแบบ และลำดับการเขียนที่ยากกว่าการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นแบบอื่น ๆ แต่เอกลักษณ์ของอักษรคันจิที่มีความหมายในตัวเอง ก็มีส่วนช่วยให้เราเข้าใจความหมายของคำประสมคันจิได้ง่ายขึ้น รวมถึงช่วยให้การเรียนรู้คำศัพท์ด้วยเทคนิคการจำเป็นคู่ตรงข้ามไปพร้อม ๆ กันไม่ยากจนเกินไป

        ผู้เรียนที่สนใจสามารถศึกษาได้เพิ่มเติมจากหนังสือ "คำตรงข้ามของคำประสมคันจิ" ที่รวบรวมคำประสมคันจิคู่ตรงข้ามไว้มากถึง 343 คำ ครอบคลุมคำศัพท์ตั้งแต่ระดับ N5-N1 เหมาะสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นทุกระดับ รูปเล่มมีขนาดกะทัดรัด อ่านทบทวนได้สะดวก (ดูรายละเอียดหนังสือได้ที่ - https://tpabook.com/product/hantaigo-taigigo/)

        จำหน่ายแล้ววันนี้ตามร้านหนังสือทั่วไป ศูนย์หนังสือ ส.ส.ท. ทั้ง 2 สาขา (สุขุมวิท 29 และพัฒนาการ 18) และสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ tpabook.com หรือแอป Shopee (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabookcentre) และแอป LAZADA (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabook) ส่วนในรูปแบบ E-book ก็สามารถสั่งซื้อที่เว็บไซต์ mebmarket.com หรือเว็บไซต์ ookbee.com กันได้เลย :D

ข้อมูลอ้างอิง :
→ หนังสือ "คำตรงข้ามของคำประสมคันจิ" โดย อาจารย์สุภา ปัทมานันท์
 

กุลวรากร เอกอัครากุล TPA Press