คำลงท้ายภาษาญี่ปุ่นสไตล์คนกันเอง

     คำลงท้ายภาษาญี่ปุ่นที่ใช้พูดกันโดยทั่วไปมักใช้ว่า です (เดส) และ ます (มัส) เทียบได้กับคำว่า "ค่ะ/ครับ" ในภาษาไทย แต่หากพูดกับเพื่อนหรือคนสนิท วิธีการพูดก็จะเป็นกันเองมากขึ้นด้วยการเปลี่ยนคำลงท้ายให้เป็นรูปธรรมดา ย่อคำให้สั้นลง หรือเติมคำลงท้ายแบบพยางค์เดียวสั้น ๆ เข้ามา ทำให้ฟังดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

     อย่างเช่นรูปประโยคภาษาญี่ปุ่นต่อไปนี้ที่เห็นบ่อย ๆ ในหนังสือเรียน ลองมาดูกันว่าเมื่อเปลี่ยนเป็นรูปประโยคแบบกันเองแล้ว จะพูดแบบไหนกันนะ…

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

1. じゃありません  ~じゃない

     เริ่มกันด้วยรูปประโยคที่ผู้เรียนต้องเจอตั้งแต่บทแรก ๆ ในหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น นั่นคือ รูปประโยคปฏิเสธ ~じゃありません (~จาอาริมาเซน) = "ไม่ใช่…" ที่ใช้ต่อท้ายคำนาม โดยเมื่อพูดแบบกันเองจะเปลี่ยนเป็นรูปธรรมดาว่า ~じゃない (~จาไน) เช่น


รูปสุภาพ : この傘は私のじゃありません
คำอ่าน : โคโนะ คาซาวะ วาตาชิโนะ จาอาริมาเซน.
คำแปล : ร่มคันนี้ไม่ใช่ของฉันค่ะ
 

รูปกันเอง : この傘は私のじゃない
คำอ่าน : โคโนะ คาซาวะ วาตาชิโนะ จาไน.
คำแปล : ร่มคันนี้ไม่ใช่ของฉัน


ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.irasutoya.com/

     อย่างไรก็ตาม じゃない (จาไน) ไม่ได้ใช้ปฏิเสธเพียงอย่างเดียว แต่หากนำไปต่อท้ายคำกริยาหรือคำคุณศัพท์รูปธรรมดา จะใช้เป็นสำนวนถ่ายทอดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาเพื่อถามอีกฝ่ายให้แน่ใจ หรือต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับเราซึ่งเป็นผู้พูดได้อีกด้วย  เช่น へえ、すごいおいしいじゃない ! (เห สุโง่ย โออิชีจาไน) ไม่ได้หมายถึง "ไม่อร่อย" แต่เป็นการแสดงความรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมว่า "โอ้โฮ อร่อยสุดยอดไปเลยนี่ !"

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. ~んですか ~の

     รูปประโยคต่อมาก็เจอบ่อยไม่แพ้กัน นั่นคือ ~んですか (~อึนเดสก๊ะ) ที่ใช้ถามคำถามได้หลากหลายสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการถามเพื่อยืนยันให้แน่ใจ หรือการถามหาเหตุผล โดย ん ในรูปประโยคนี้กร่อนเสียงมาจาก の ใน のですか (~โนเดสก๊ะ) ที่มีความเป็นทางการกว่า แต่หากพูดแบบกันเองก็สามารถย่อให้สั้นลงเหลือเพียง ~の (~โนะ) ตัวเดียวได้เลย เช่น
 

รูปสุภาพ : 気分が悪いんですか
คำอ่าน : คิบุนงะ วารุยอึนเดสก๊ะ ?
คำแปล : ไม่สบายเหรอคะ
 

รูปกันเอง : 気分が悪い
คำอ่าน : คิบุนงะ วารุยโนะ ?
คำแปล : ไม่สบายเหรอ
 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.irasutoya.com/

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3.  

     ในบทเรียนไวยากรณ์ชั้นต้น จะใช้ ~さ เมื่อต้องการเปลี่ยนคำคุณศัพท์ い เป็นคำนาม โดยการเปลี่ยน い เป็น さ เช่น 長 (นาไง) = "ยาว" ⇒ 長 (นางาสะ) = "ความยาว" แต่ในสำนวนพูดแบบกันเอง สามารถใช้ ~さ เป็นคำลงท้ายเพื่อเรียกความสนใจจากอีกฝ่ายว่า "อยากให้ฟัง" สิ่งที่ตนกำลังพูดก็ได้ด้วย โดยมักใช้เป็นคำลงท้ายคำหรือประโยคสำหรับการเกริ่นเข้าเรื่อง และใช้บ่อยมากในการสนทนาระหว่างเพื่อน เช่น
 

あの、ちょっと待ってもらえないかな?
คำอ่าน : อาโนซา, ชตโตะ มัตเตะ โมราเอไนกานา ?
คำแปล : นี่ ๆ ช่วยรอเดี๋ยวได้ไหม
 

土曜目の約束だけど、時間、1時半に変えられない?
คำอ่าน : โดโยบิโนะ ยากุโซกุดาเกโดซา, จิกัน, อิชิจิฮันนิ คาเอราเรไน ?
คำแปล : ที่นัดกันวันเสาร์น่ะ เปลี่ยนเวลาเป็นบ่ายโมงครึ่งได้ไหม
 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.irasutoya.com/

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

     คำลงท้ายข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรูปประโยคแบบกันเองที่พบได้บ่อยในการสนทนา ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมดาหรือรูปย่อ ซึ่งเป็นรูปประโยคที่ยกระดับการใช้ขึ้นมาจากรูปสุภาพที่เรียนในชั้นต้น ผู้เรียนที่ต้องการฝึกฝนการใช้สำนวนพูดคุยแบบกันเองได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติมากขึ้น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ "พูดญี่ปุ่นแบบญี่ปุ่นพูด ระดับกลาง-สูง" ที่นำเสนอสำนวนการพูดรูปแบบต่าง ๆ ผ่านแบบฝึกสนทนาหลากหลายสถานการณ์ พร้อมสอดแทรกเทคนิคการสื่อสาร และคำอธิบายที่เข้าใจง่าย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ - https://link.tpabook.com/Mo9B)

     จำหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือทั่วไป ศูนย์หนังสือ ส.ส.ท. (พัฒนาการ 18) หรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ tpabook.com แอป Shopee (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabookcentre) และแอป Lazada (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabook) กันได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง :
หนังสือ "พูดญี่ปุ่นแบบญี่ปุ่นพูด ระดับกลาง-สูง" แปลโดย อาจารย์เมธี ธรรมพิภพ

https://jlptsensei.com/learn-japanese-grammar/%E3%81%95-sa-ending-particle-meaning/


กุลวรากร เอกอัครากุล TPA Press