พิธีชงชา ศิลปะแห่งวัฒนธรรม


        การดื่มชาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน เดิมทีการดื่มชาไม่ได้เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นแต่รับมาจากประเทศจีนในสมัยก่อน โดยพระรูปหนึ่งนามว่า เอไซ (西 Eisai) ซึ่งเดินทางกลับจากการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศจีนพร้อมกับนำชากลับมาด้วยและได้ถวายให้โชกุนได้ชิม หลักจากนั้นชาก็มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การปลูกต้นชาบริเวณเมืองต่าง ๆ รอบเมืองหลวงในตอนนั้น (เมืองหลวงในสมัยนั้นคือ เกียวโต)
 

 photo chadou1_zps68ff1e57.jpg


ตัวอย่างห้องที่ใช้สำหรับพิธีชงชา
ขอบคุณภาพจาก -
en.wikipedia.org


        ต่อมาก็ได้มีพัฒนาการชงชาให้เป็นแบบแผนและพิธีการมากขึ้น ส่วนพิธีชงชาแบบปัจจุบันนั้นถือกำเนิดมาจากท่าน เซ็น โนะ ริคิว (千利休 Sen no Rikyu) ซึ่งมีแนวคิดในการชงชาคือ (わ (wa) けい (kei) せい (sei) じゃく (jyaku))
 

มีความหมายว่า กลมกลืน
มีความหมายว่า ความเคารพ
มีความหมายว่า สะอาดบริสุทธิ์
มีความหมายว่า นิ่งสงบ


        พิธีชงชาจะเริ่มจากการเชิญแขกเข้าสู่ห้องชงชาซึ่งต้องเดินผ่านสวน มีนัยว่าต้องทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ จากนั้นก็ล้างมือ ล้างปาก เพื่อทำร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์ ต่อไปก็จะผ่านทางเข้าเล็ก ๆ ที่ต้องคลานเข้าไป แสดงให้เห็นถึงความเคารพซึ่งกันและกัน และทุกท่วงท่าในพิธีตั้งแต่เริ่มจนจบจะต้องสง่างามและนิ่งสงบ

        ในระหว่างการชงชา ผู้ชงจะใส่ผงชาบดละเอียดหรือที่เรียกว่า
มัชชะ (抹茶 matcha) ลงในถ้วยชาและตักน้ำร้อนจากหม้อต้มมาใส่ จากนั้นคนด้วยไม้คนชาหรือ ชาเซน (茶筅 chasen) จนแตกฟอง เมื่อคนจนได้ที่แล้วก็จะยกถ้วยชาขึ้นหมุนประมาณ 3 รอบแล้ววางไว้หน้าผู้ดื่ม ส่วนผู้ที่จะดื่มชาก็จะโค้งคำนับเล็กน้อยก่อนยกถ้วยชาดังกล่าวขึ้นมาด้วยมือขวาและวางลงบนฝ่ามือซ้าย แล้วค่อย ๆ หมุนถ้วยชาตามเข็มนาฬิกาและยกมาดื่มให้หมดภายใน 3 ครั้ง หลังจากดื่มเสร็จจะหมุนถ้วยชากลับไปเหมือนเดิมแล้วใช้ปลายนิ้วเช็ดขอบถ้วยชา และใช้กระดาษรองขนมไคชิ (懐紙 kaishi) เช็ดนิ้วของตน
 

 photo chadou2_zpsf3d4d9fc.jpg


ผงชา ถ้วยชา และไม้คนชา
ขอบคุณภาพจาก -
ubbcluj.ro


        จะสังเกตได้ว่าในระหว่างการชงชาและการดื่มชาจะมีการหมุนถ้วยชาอยู่ตลอด เนื่องจากเป็นการหันลวดลายที่สวยงามของถ้วยชาให้ผู้อื่นได้เห็นและชื่นชมกับความสวยงาม ถ้วยชานับเป็นความภาคภูมิใจของแต่ละบ้านเนื่องจากมักใช้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลานับร้อย ๆ ปี นอกจากนี้ ถ้วยชาที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบและภาคภูมิใจคือ ถ้วยสังคโลก ที่นำเข้าจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ้วยเวียงกาหลง หรือเบญจรงค์ลายน้ำทอง
 

 photo chadou3_zpsba34c9bd.jpg


บทความที่เกี่ยวข้อง :
Shizuoka : มนต์เสน่ห์ภาคกลาง


เอกณัฏฐ์ สวัสดิ์หิรัญ TPA Press