บุนรากุ : เรื่องเล่าจากหุ่นเชิด

 

 photo 1_burakucmru.blogspot.com_zpscryiayl3.jpg


ขอบคุณภาพประกอบจาก - burakucmru.blogspot.com


        บุนรากุ  (文楽 Bunraku) คือการแสดงละครหุ่นเชิดแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นศิลปะชั้นสูงที่ญี่ปุ่นภูมิใจเป็นอย่างมาก เดิมทีศิลปะแขนงนี้ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกว่า นิงเงียวโจรุริ (人形浄瑠璃 Ningyou Joururi) ซึ่งหมายถึง การแสดงนิทานหุ่น จนมาถึงช่วงปลายศตวรรรษที่ 16 ได้มีการเปิดโรงละครหุ่นขึ้นในโอซาก้าในชื่อ โรงละครบุนรากุ โดยผสมผสานการดีดพิณญี่ปุ่นและการเล่าเรื่องมาใส่ไว้ในนิทานหุ่น ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและโด่งดังไปทั่ว นับตั้งแต่นั้นมาผู้คนจึงเรียกศิลปะการแสดงนี้ว่า บุนรากุ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 2003 
 

 photo 2_www.wochikochi.jp_zpsjohee72k.jpg


ขอบคุณภาพประกอบจาก - www.wochikochi.jp


การแสดงบุนรากุประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
        1. ผู้เล่าเรื่อง หรือที่เรียกว่า ทายู (太夫 tayuu) จะคอยเล่าเรื่องราวในระหว่างการแสดงหุ่น  บางครั้งอาจจะร้องทั้งบทเพลงหรือบทประพันธ์ในการแสดง
        2. คนเล่นซามิเซน (พิณญี่ปุ่น) เป็นผู้กำหนดจังหวะของผู้เล่าเรื่องและการร่ายรำของหุ่น
        3. นักเชิดหุ่นและตุ๊กตาหุ่นเชิด หรือที่เรียกว่า นิงเงียวทสึไค (人形遣い ningyoutsukai) ส่วนใหญ่หุ่น 1 ตัวจะใช้คนเชิดทั้งหมด 3 คนพร้อม ๆ กัน โดยคนแรกซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าจะบังคับส่วนหัวและมือขวา คนที่ 2 ทำหน้าที่บังคับมือซ้ายและคอยส่งอุปกรณ์ที่หุ่นใช้ เช่น พัด ฯลฯ ให้กับตัวหุ่นถือ ส่วนคนสุดท้ายทำหน้าที่บังคับขาทั้ง 2 ข้าง คนเชิดหุ่นคนแรกจะใส่ชุดญี่ปุ่นในการเชิด ส่วนคนที่ 2 และ 3 จะสวมชุดดำและคลุมหน้าด้วยผ้าสีดำเพื่อให้กลืนไปกับเวที
 

 photo 3_www.magazine9.jp_zpsgkrqkfxn.jpg


ขอบคุณภาพประกอบจาก - www.magazine9.jp


         หัวของหุ่นบารากุจะแบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง จัดเป็นหมวดหมู่ตามระดับชนชั้นและลักษณะของหุ่น หัวหุ่นจะมีทั้งหมดประมาณ 40 แบบ ซึ่งในการแสดงบางครั้งอาจสลับหัวของหุ่นเพื่อใช้ในการแสดงนั้น ๆ เป็นพิเศษ ส่วนเครื่องแต่งกายของหุ่นก็มักจะแต่งตามบทบาทของหุ่นตัวนั้น ๆ เช่น เสื้อยืด กิโมโน หรือชุดญี่ปุ่นแบบต่าง ๆ เป็นต้น


เอกณัฏฐ์ สวัสดิ์หิรัญ TPA Press